ป้ายเหล่านั้นบอกเอาไว้ว่าซากโบราณสถานรวมถึงต้นโพธิ์ ทั้งหมดไม่ใช่ของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่เป็นของที่สร้างและปลูกภายหลัง ตรงตำแหน่งของโบราณสถานเดิมครับ
ซึ่งอาจจะแตกต่างจากข้อมูลแหล่งอื่นๆ ที่เผยแพร่ในประเทศไทย ที่มักบอกว่าเป็นของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาลนะครับ
ผู้อ่านจะเชื่อข้อมูลจากแหล่งไหน ก็อยู่ที่วิจารณญาณของท่านนะครับ ผู้เขียนเพียงนำเสนอข้อมูลอีกด้านให้ท่านใช้พิจารณาครับ
![]() |
ประวัติโบราณสถานสาวัตถี วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
โบราณสถานสาวัตถีแบ่งเป็น 2 ส่วนนะครับ ได้แก่ สาเหต (Saheth) คือบริเวณวัดเชตวันมหาวิหาร และมาเหต (Maheth) คือบริเวณตัวเมืองสาวัตถีเดิม ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร
![]() |
ประวัติโบราณสถานวัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
สาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล และเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดนะครับ บางแห่งก็บอกว่ามากถึง 25 พรรษา แต่บางแห่งก็ว่า 24 พรรษา โดยประทับที่เชตวันมหาวิหารถึง 19 พรรษาครับ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือท่านสุทัตตะได้ซื้อที่ดินจากเจ้าเชต เจ้าชายแห่งแคว้นโกศล โดยนำเหรียญทองมาปูจนเต็มพื้นที่ ซึ่งเป็นเงินถึง 18 โกฏิ เพื่อสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธเจ้า เมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอีก 36 โกฏิ จึงเป็นเงินถึง 54 โกฏิเลยครับ
วัดเชตวันมหาวิหารในสมัยพุทธกาลนั้น มีอาคารหลังใหญ่อยู่ 4 หลังนะครับ ได้แก่ กเรริกุฎี โกสัมพกุฎี (Kosamba Kuti) คันธกุฎี (Gandha Kuti) ซึ่งสร้างโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี และสฬลฆระ (เรือนไม้สน) ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล (King Prasenajit)
เริ่มกันที่อาคาร 2 ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่ตรงตำแหน่งของพระคันธกุฎี ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายให้พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์นะครับ
ก่อนหน้าที่จะสร้างเป็นอาคารอย่างที่เห็นอยู่นี้ หลวงจีนฟาเหียน (Fa-Hien หรือ Faxian หรือ Fa-hsien) ภิกษุชาวจีนที่มาเยือนอินเดียก่อนพระถังซัมจั๋ง คือเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 942 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 957 ได้บันทึกเอาไว้ว่าบริเวณนี้เป็นอาคารไม้สูง 7 ชั้น และมีภาพพระพุทธเจ้าบนไม้จันทน์ประดิษฐานอยู่ (enshrined a sandalwood image of Buddha) ตรงนี้ไม่ทราบว่าเป็นภาพวาด ภาพแกะสลัก หรือเป็นพระพุทธรูปนะครับ
ในขณะที่ประมาณ 200 ปีถัดมา พระถังซัมจั๋งซึ่งเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 1172 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 1188 พบว่าบริเวณนี้กลายเป็นซากของอาคารอิฐ 2 ชั้น ไปแล้วครับ
จากการสำรวจของนักโบราณคดีสรุปว่า ชั้นล่างสุดที่มองเห็นได้ของอาคารอิฐในปัจจุบันนั้น สร้างในสมัยคุปตะ (พ.ศ. 823 - 1093) ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของภิกษุจีนทั้ง 2 รูปข้างบนนะครับ
อาคาร 3 นี้ เชื่อว่าตั้งอยู่ในตำแหน่งของโกสัมพกุฎี ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายให้พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์อีกหลังนะครับ
จากการพบซากผนังในระดับที่ต่ำกว่าตัวอาคารที่เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ทางด้านทิศเหนือและตะวันตกของอาคาร จึงคาดว่าน่าจะมีอาคารหลังเก่าตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกันนี้ ก่อนที่จะสร้างอาคารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนะครับ
ตามป้ายบอกเอาไว้ว่า เชื่อกันว่าต้นโพธิ์ต้นนี้ถูกปลูกขึ้นมาเพื่อแสดงตำแหน่งของต้นอานันทโพธิ์ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ปลูกเอาไว้ในสมัยพุทธกาล ซึ่งโพธิ์ต้นเดิมนั้นมีพระอานนท์เป็นผู้ดูแล จึงได้ชื่อว่าอานันทโพธิ์นะครับ
อาคาร 11 และ 12 นี้ มีรูปแบบเหมือนกันนะครับ คือมีห้องโถงตรงกลาง ซึ่งน่าจะใช้แสดงรูปภาพ และมีห้องด้านข้าง 2 ห้อง
อาคาร 19 นี้เป็นอาคารใหญ่อาคารหนึ่งนะครับ คาดว่าน่าจะถูกสร้างซ้ำบนฐานเดิมถึง 3 รอบ ในคริสตศตวรรษที่ 6, 10 และ 11-12 ตามลำดับ
สถูป 5 นี้ ในสมัยกุษาณะถูกสร้างเป็นสถูปก่อนนะครับ หลังจากนั้นก็มีการสร้างวิหารไว้ด้านบน แล้วในภายหลังก็ถูกเปลี่ยนเป็นสถูปอีกครั้ง
สถูป 18 นี้สร้างในสมัยกุษาณะนะครับ
อาคาร 1 เป็นอาคารใหญ่อีกหลังนะครับ อยู่ติดกำแพงวัดด้านทิศเหนือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
สถูป 8 องค์นี้สร้างต่างเวลากันในหลายยุคนะครับ หนึ่งในนั้นจารึกชื่อว่าพุทธเทวะ (Buddhadeva) ด้วยตัวอักษรสมัยคริสตศตวรรษที่ 5 ครับ
![]() |
แผนผังโบราณสถานวัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
วัดเชตวันมหาวิหารในสมัยพุทธกาลนั้น มีอาคารหลังใหญ่อยู่ 4 หลังนะครับ ได้แก่ กเรริกุฎี โกสัมพกุฎี (Kosamba Kuti) คันธกุฎี (Gandha Kuti) ซึ่งสร้างโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี และสฬลฆระ (เรือนไม้สน) ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล (King Prasenajit)
![]() |
อาคาร 2 แสดงที่ตั้งของคันธกุฎี วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
เริ่มกันที่อาคาร 2 ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่ตรงตำแหน่งของพระคันธกุฎี ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายให้พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์นะครับ
![]() |
อาคาร 2 แสดงที่ตั้งของคันธกุฎี วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ก่อนหน้าที่จะสร้างเป็นอาคารอย่างที่เห็นอยู่นี้ หลวงจีนฟาเหียน (Fa-Hien หรือ Faxian หรือ Fa-hsien) ภิกษุชาวจีนที่มาเยือนอินเดียก่อนพระถังซัมจั๋ง คือเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 942 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 957 ได้บันทึกเอาไว้ว่าบริเวณนี้เป็นอาคารไม้สูง 7 ชั้น และมีภาพพระพุทธเจ้าบนไม้จันทน์ประดิษฐานอยู่ (enshrined a sandalwood image of Buddha) ตรงนี้ไม่ทราบว่าเป็นภาพวาด ภาพแกะสลัก หรือเป็นพระพุทธรูปนะครับ
![]() |
อาคาร 2 แสดงที่ตั้งของคันธกุฎี วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ในขณะที่ประมาณ 200 ปีถัดมา พระถังซัมจั๋งซึ่งเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 1172 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 1188 พบว่าบริเวณนี้กลายเป็นซากของอาคารอิฐ 2 ชั้น ไปแล้วครับ
![]() |
รายละเอียดอาคาร 2 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
จากการสำรวจของนักโบราณคดีสรุปว่า ชั้นล่างสุดที่มองเห็นได้ของอาคารอิฐในปัจจุบันนั้น สร้างในสมัยคุปตะ (พ.ศ. 823 - 1093) ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของภิกษุจีนทั้ง 2 รูปข้างบนนะครับ
![]() |
อาคาร 3 แสดงที่ตั้งของโกสัมพกุฎี วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
อาคาร 3 นี้ เชื่อว่าตั้งอยู่ในตำแหน่งของโกสัมพกุฎี ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายให้พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์อีกหลังนะครับ
![]() |
รายละเอียดอาคาร 3 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
จากการพบซากผนังในระดับที่ต่ำกว่าตัวอาคารที่เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ทางด้านทิศเหนือและตะวันตกของอาคาร จึงคาดว่าน่าจะมีอาคารหลังเก่าตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกันนี้ ก่อนที่จะสร้างอาคารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนะครับ
![]() |
ต้นโพธิ์แสดงตำแหน่งของอานันทโพธิ์ วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ตามป้ายบอกเอาไว้ว่า เชื่อกันว่าต้นโพธิ์ต้นนี้ถูกปลูกขึ้นมาเพื่อแสดงตำแหน่งของต้นอานันทโพธิ์ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ปลูกเอาไว้ในสมัยพุทธกาล ซึ่งโพธิ์ต้นเดิมนั้นมีพระอานนท์เป็นผู้ดูแล จึงได้ชื่อว่าอานันทโพธิ์นะครับ
![]() |
รายละเอียดต้นโพธิ์ วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
อาคาร 11 และ 12 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
อาคาร 11 และ 12 นี้ มีรูปแบบเหมือนกันนะครับ คือมีห้องโถงตรงกลาง ซึ่งน่าจะใช้แสดงรูปภาพ และมีห้องด้านข้าง 2 ห้อง
![]() |
รายละเอียดอาคาร 11 และ 12 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
อาคาร 19 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
อาคาร 19 นี้เป็นอาคารใหญ่อาคารหนึ่งนะครับ คาดว่าน่าจะถูกสร้างซ้ำบนฐานเดิมถึง 3 รอบ ในคริสตศตวรรษที่ 6, 10 และ 11-12 ตามลำดับ
![]() |
รายละเอียดอาคาร 19 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
สถูป 5 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
สถูป 5 นี้ ในสมัยกุษาณะถูกสร้างเป็นสถูปก่อนนะครับ หลังจากนั้นก็มีการสร้างวิหารไว้ด้านบน แล้วในภายหลังก็ถูกเปลี่ยนเป็นสถูปอีกครั้ง
![]() |
รายละเอียดสถูป 5 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
สถูป 18 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
สถูป 18 นี้สร้างในสมัยกุษาณะนะครับ
![]() |
รายละเอียดสถูป 18 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
อาคาร 1 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
อาคาร 1 เป็นอาคารใหญ่อีกหลังนะครับ อยู่ติดกำแพงวัดด้านทิศเหนือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
![]() |
รายละเอียดอาคาร 1 วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
สถูป 8 องค์ วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
สถูป 8 องค์นี้สร้างต่างเวลากันในหลายยุคนะครับ หนึ่งในนั้นจารึกชื่อว่าพุทธเทวะ (Buddhadeva) ด้วยตัวอักษรสมัยคริสตศตวรรษที่ 5 ครับ
![]() |
รายละเอียดสถูป 8 องค์ วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น