![]() |
ถ้ำ Sone Bhandar ภูเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
ถ้ำ Sone Bhandar ที่เชิงเขาเวภารบรรพตด้านทิศใต้นี้ มี 2 ถ้ำอยู่คู่กันนะครับ ในสมัยพุทธกาลถ้ำนี้เคยใช้เป็นพระคลังมหาสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร
![]() |
ถ้ำ Sone Bhandar ถ้ำเล็ก ภูเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
ต่อมาถ้ำแห่งนี้ก็ถูกครอบครองโดยนักบวชของศาสนาเชน สำหรับใช้เป็นที่ทำสมาธิครับ ที่ผนังถ้ำด้านในจึงมีภาพสลักของศาสนาเชนอยู่หลายภาพ เช่น ภาพศาสดามหาวีระ ที่ชาวพุทธเรียกว่านิครนถ์นาฏบุตร
![]() |
ถ้ำ Sone Bhandar ถ้ำใหญ่ ภูเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
เหนือประตูปากถ้ำจะมีรูสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแนวยาว คาดว่าน่าจะเป็นรูสำหรับเสียบคานเพื่อทำชายคายื่นออกมาหน้าถ้ำครับ
![]() |
ภาพสลักที่ผนังถ้ำ Sone Bhandar ภูเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
ภาพสลักที่ผนังถ้ำ Sone Bhandar ภูเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
ภายในถ้ำ Sone Bhandar ภูเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
ถ้ำ Sone Bhandar ถ้ำใหญ่ พื้นจะราบเรียบสวยงามเลยนะครับ ผนังถ้ำก็จะเรียบตรงเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนเพดานถ้ำจะเป็นทรงโค้งยาว
ตามจารึกที่ผนังถ้ำระหว่างประตูกับหน้าต่างถ้ำบอกไว้ว่า ถ้ำนี้ถูกขุดเจาะโดยนักบวชของศาสนาเชน คือ Great Saint Vairadeva ประมาณคริสตศตวรรษที่ 3 - 4 ครับ
![]() |
น้ำพุร้อน ตโปทาราม เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
สถานที่ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของราชคฤห์ ก็คือน้ำพุร้อนที่ตโปทาราม ที่เชิงเขาเวภารบรรพตนะครับ น้ำที่นี่เป็นน้ำแร่ธรรมชาติ ที่มีอุณหภูมิประมาณ 45 องศาเซลเซียส และมีแร่ธาตุ เช่น กำมะถัน เป็นส่วนประกอบ จึงสามารถรักษาโรคผิวหนังได้ดีครับ
![]() |
น้ำพุร้อน ตโปทาราม ชั้นบน เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
คนท้องถิ่นจะเรียกน้ำพุร้อนแห่งนี้ว่า Brahma Kund นับเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของศาสนาฮินดูครับ จึงมีรูปปั้นของฮินดูกระจายอยู่ทั่วไป
![]() |
น้ำพุร้อน ตโปทาราม ชั้นบน เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
การอาบน้ำจะแบ่งเป็นชั้นๆ ตามวรรณะ คนวรรณะสูงจะได้อาบน้ำที่ชั้นบน น้ำที่ผ่านจากการอาบที่ชั้นบนแล้วก็จะไหลไปยังชั้นต่อๆ ไป ให้คนวรรณะต่ำลงไปได้อาบครับ
![]() |
น้ำพุร้อน ตโปทาราม ชั้นล่าง เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
น้ำที่ชั้นล่างสำหรับคนวรรณะต่ำจึงมีสีดำคล้ำครับ
![]() |
เจ้าแม่กาลีเหยียบพระศิวะ น้ำพุร้อน ตโปทาราม เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
ปิปผลิคูหา มองจากน้ำพุร้อน ตโปทาราม เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
บริเวณที่ก่ออิฐเป็นฐานสี่เหลี่ยม ที่อยู่บนเนินด้านหลังตโปทาราม ก็คือปิปผลิคูหา ที่พักของพระมหากัสสปะนะครับ
![]() |
วัดของศาสนาเชน มองจากน้ำพุร้อน ตโปทาราม เชิงเขาเวภารบรรพต ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
ต่อไปก็คือสวนเวฬุวันนะครับ (Venu Van) ซึ่งนอกจากจะเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชา คือวันเพ็ญเดือน 3 อีกด้วย
![]() |
เวฬุวัน ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
เวฬุวัน ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
พระพุทธรูป เวฬุวัน ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
พระพุทธรูปญี่ปุ่น เวฬุวัน ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
![]() |
ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภาระ มองจากวัดไทยสิริราชคฤห์ ราชคฤห์ พิหาร อินเดีย |
สุดท้ายก็ถ้ำสัตตบรรณคูหานะครับ (Saptaparni Caves หรือ Sattaparnaguha Caves) บนภูเขาเวภารบรรพต (Vaibhar Hill) ซึ่งเป็นถ้ำที่พระอรหันต์ 500 รูป โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้ร่วมกันทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 1 หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน เพื่อรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และจัดเป็นหมวดหมู่ จนกลายมาเป็นพระไตรปิฎกในปัจจุบัน ซึ่งการสังคายนาครั้งนั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือนครับ
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น