![]() |
มูลคันธกุฎีวิหาร สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนสู่ประเทศอินเดีย ท่านเดินทางไปทั่วโลกเพื่อเรียกร้อง ทวงคืนดินแดนสำคัญของชาวพุทธ เช่นพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กลับมาอยู่ในการดูแลของชาวพุทธอีกครั้งครับ
ท่านเป็นผู้ก่อสร้างมูลคันธกุฎีวิหาร ที่สารนาถครับ ถึงแม้ท่านจะเป็นชาวศรีลังกา แต่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านได้ตั้งความปรารถนาที่จะเกิดที่ประเทศอินเดีย 25 ชาติ เพื่อรับใช้พระพุทธศาสนาครับ
รูปปั้นนี้อยู่ด้านหน้าของมูลคันธกุฎีวิหารครับ
![]() |
พระประธาน มูลคันธกุฎีวิหาร สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
พระประธานของมูลคันธกุฎีวิหาร พระพุทธรูปที่มีผู้ยกย่องว่างามที่สุดในอินเดียเลยนะครับ
![]() |
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ภาพถ่ายของท่านอนาคาริก ธรรมปาละ อยู่ภายในมูลคันธกุฎีวิหารครับ
![]() |
โปรดปัญจวัคคีย์ สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
ธรรมเมกขสถูป สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ธรรมเมกขสถูป จุดที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในคืนวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ในคืนนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (การหมุนกงล้อแห่งธรรม) โดยเริ่มจากการแสดงที่สุด ๒ ประการ ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นในกามทั้งหลาย อันเป็นเหตุแห่งการพอกพูนความยึดมั่นถือมั่น) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตน อันทำให้เป็นทุกข์โดยเปล่าประโยชน์)
แล้วทรงแสดงทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คืออริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา คือความรู้แจ้งในธรรมชาติของสิ่งทั้งปวง เพื่อความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง
ปิดท้ายด้วยอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์ คือตัณหาความทะยานอยาก อันประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกำหนัด) นิโรธ (ความดับแห่งทุกข์ คือความดับตัณหาโดยไม่เหลือ) มรรค (อริยมรรคมีองค์ 8)
เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นโสดาบันบุคคล เป็นอริยสาวกคนแรกในพระศาสนา สังฆรัตนะได้เกิดขึ้นแล้ว พระรัตนตรัยได้เกิดขึ้นแล้ว ณ ที่แห่งนี้
![]() |
เสาอโศก สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
เสาอโศก เสาหินทรายที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างเอาไว้ เดิมสูง 15.25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 0.71 เมตร ที่ยอด 0.56 เมตร ที่ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปสิงห์ 4 ตัว หันหลังชนกัน ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลอินเดีย รอบเสาสลักข้อความด้วยอักษรพราหมี (Brahmi - ภาษาท้องถิ่นของชาวบ้านในแคว้นอวันตี) ดังที่ขยายเอาไว้ทางรูปด้านขวานะครับ คลิกดูรูปขยายได้ครับ
ข้อความที่สลักนั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน โดย 1 ใน 3 นั้น พระเจ้าอโศกทรงเตือนเกี่ยวกับเรื่องการสร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์ครับ
![]() |
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีสารนาถ สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
วัดไทยสารนาถ สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
พระพุทธรูปในวัดไทยสารนาถ สารนาถ พาราณสี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น