Google Analytics 4

×

เที่ยวอินเดียด้วยตัวเอง :


คุยกันก่อนนะครับ


แนะนำแผนการท่องเที่ยวอินเดีย


ควรรู้ก่อนเดินทางไปเที่ยวอินเดีย


เตรียมตัวก่อนเดินทางไปเที่ยวอินเดีย


การเดินทางในอินเดีย


พาเที่ยวอินเดีย


ก่อนเดินทางกลับจากเที่ยวอินเดีย


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม










India India ข้อมูลเที่ยวอินเดียเนปาลด้วยตัวเอง และชมรูปภาพ วีดีโอคลิป อินเดีย เนปาล พร้อมข้อมูลประกอบ


5/7/59
ระบบรถไฟของอินเดีย

ชั้นของรถไฟอินเดีย (Class)

  • AC First Class (1A) ตู้นอนติดแอร์ชั้น 1 แบ่งเป็นห้องๆ พร้อมเครื่องนอน มีประตูล็อคได้ มีไฟอ่านหนังสือ และปลั๊กไฟ เป็นชั้นที่แพงที่สุด หรูหราที่สุด ราคาใกล้เคียงกับเครื่องบินชั้นประหยัด และเป็น 2 เท่าของ AC2 บางครั้งเรียกชั้น Ist AC (1AC หรือ AC1) มีเฉพาะในสายสำคัญๆ ที่วิ่งไกลๆ
  • AC 2 Tier (2A) ตู้นอนติดแอร์ชั้น 2 ไม่มีประตูล็อคแต่ใช้เป็นผ้าม่านกั้น มีเครื่องนอนให้ในตอนกลางคืน กลางวันปรับเป็นเบาะนั่ง กลางคืนปรับเป็นเตียงนอน 2 ชั้น มีไฟอ่านหนังสือ และปลั๊กไฟในบางจุด
  • First Class (FC) เป็นตู้นอนชั้น 1 แบบโบราณ ไม่มีแอร์ และไม่มีเครื่องนอนให้ ราคาอยู่ระหว่าง 2A กับ 3A ปัจจุบันเหลือบริการในไม่กี่ขบวน
  • AC 3 Tier (3A) ตู้นอนติดแอร์ เตียงซีกหนึ่งมี 3 ชั้น อีกซีกมี 2 ชั้น กลางวันปรับเป็นเบาะนั่ง กลางคืนมีเครื่องนอนให้ด้วย แต่ไม่มีผ้าม่านกั้น ไม่มีไฟอ่านหนังสือ
  • AC 3 Economy (3E) ตู้นอนติดแอร์แบบประหยัด เป็นเตียง 3 ชั้นทุกแถว กลางวันปรับเป็นเบาะนั่ง กลางคืนปรับเป็นเตียง แต่ไม่มีเครื่องนอนให้
  • AC Chair Car (CC) รถแอร์นั่งสำหรับเดินทางตอนกลางวัน ลักษณะคล้ายเครื่องบินชั้นประหยัด มีปลั๊กไฟในบางจุด ราคาต่ำกว่า 3A เล็กน้อย

ชานชาลาสถานีรถไฟโครักขปูร์ อินเดีย

  • Sleeper (SL) ตู้นอนติดพัดลม เตียงซีกหนึ่งมี 3 ชั้น อีกซีกมี 2 ชั้น กลางวันปรับเป็นเบาะนั่ง กลางคืนปรับเป็นเตียงนอน แต่ไม่มีเครื่องนอนให้
  • Second Sitting (2S) รถนั่งติดพัดลม บางขบวนที่นั่งเป็นไม้ บางขบวนเป็นเบาะหุ้มด้วยพลาสติก บางขบวนจองตั๋วล่วงหน้าได้ แต่บางขบวนก็ไม่รับจอง ไม่แนะนำให้ขึ้นชั้นนี้โดยไม่จำเป็นนะครับ นอกจากระยะทางใกล้ๆ เพราะคนจะแน่นมาก ลำบากเกินไปสำหรับคนไทย

สามารถดูภาพประกอบได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ

ข้อควรพิจารณา

  • เตียงบนจะปลอดภัยกว่าเตียงล่างนะครับ เพราะอยู่สูงจะระวังของได้ง่ายกว่า
  • ควรเลือกชั้น Sleeper (SL) ขึ้นไป
  • การจองควรเลือกขบวนที่ขึ้นว่า AVAILABLE นะครับ จะได้ไม่ต้องไปเสี่ยงกับ WAIT LIST (เป็นคิวสำรอง) ในวันเดินทาง หรือขั้นต่ำก็ควรเป็น RAC ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เรื่องวิธีสมัครและจองตั๋วรถไฟอินเดียอย่างละเอียด และเรื่องสถานะของตั๋วรถไฟ (PNR status) นะครับ

หน้าจอแสดงสถานะรถไฟอินเดีย

  • รถไฟอินเดียมาสายเป็นเรื่องปกติ 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง หรือบางครั้งอาจถึง 6 ชั่วโมงเลยก็ได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย อย่าจองตั๋วรถไฟต่อเนื่องชิดกันเกินไปนะครับ ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 12 ชั่วโมง จะได้ไม่มีปัญหาขึ้นรถไฟขบวนถัดไปไม่ทัน

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • ที่สถานีรถไฟใหญ่ๆ จะมีห้องฝากกระเป๋า (Cloak room) เอาไว้บริการในราคาถูกนะครับ สามารถฝากกระเป๋าเอาไว้ แล้วไปเดินเที่ยวได้
  • นอกจากนี้ ที่สถานีรถไฟใหญ่ๆ ยังมีห้องนั่งรอ (waiting room) สำหรับเข้าไปนั่งรอ และมีห้องนอนราคาไม่แพงมีห้องน้ำในตัว สำหรับนอนพักช่วงรอรถไฟอีกด้วยครับ
  • ร้านขายหนังสือตามสถานีรถไฟจะมีคู่มือตารางเวลารถไฟขาย เล่มละไม่กี่รูปี ซื้อติดตัวเอาไว้จะทำให้กะเวลาและเตรียมตัวลงรถได้ง่ายขึ้น เพราะรถไฟอินเดียมักจะสายเป็นประจำ และป้ายชื่อบางสถานีก็จะมีแต่ภาษาฮินดี ถ้าเราถามคนอินเดียว่าถึงสถานีไหนแล้ว แล้วนำมาเทียบกับคู่มือ ก็จะประเมินได้ง่ายว่าอีกนานเท่าไหร่ และอีกกี่สถานีจะถึงจุดลงรถแล้วนะครับ

ไปหน้าสารบัญ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น