ป้ายเหล่านั้นบอกเอาไว้ว่า ซากโบราณสถานไม่ใช่ของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่เป็นของที่สร้างภายหลังครับ
ซึ่งอาจจะแตกต่างจากข้อมูลแหล่งอื่นๆ ที่เผยแพร่ในประเทศไทย ที่มักบอกว่าเป็นของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาลนะครับ
ผู้อ่านจะเชื่อข้อมูลจากแหล่งไหน ก็อยู่ที่วิจารณญาณของท่านนะครับ ผู้เขียนเพียงนำเสนอข้อมูลอีกด้านให้ท่านใช้พิจารณาครับ
![]() |
สถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
มาดูทางด้านมาเหตบ้างนะครับ จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี (Kachchi Kuti) ที่เรียกว่า Kachchi Kuti เพราะเคยมีนักบวชฮินดูไปสร้างวิหารอิฐชั่วคราวเอาไว้ที่ด้านบนครับ คือ kachcha หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ชั่วคราว ไม่คงทนถาวร
![]() |
สถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ซากสถูปที่ยังเหลืออยู่ประกอบด้วยโครงสร้างจากหลายยุค ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 2 ถึง 12 ครับ โดยปรากฏให้เห็นสถูปของพุทธในสมัยกุษาณะอยู่ชั้นล่าง และมีวิหารสมัยคุปตะซ้อนทับอยู่ชั้นบน
![]() |
รายละเอียดสถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
สถูปองคุลีมาล มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
สถูปนี้อยู่ข้างๆ สถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐีนะครับ เรียกว่า Pakki Kuti หรือ Angulimal Stupa มีความเห็นต่างกันเป็น 2 ทางสำหรับสถูปนี้ครับ
![]() |
สถูปองคุลีมาล มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
หลวงจีนฟาเหียน (Fa-Hien หรือ Faxian หรือ Fa-hsien) ภิกษุชาวจีนที่มาเยือนอินเดียก่อนพระถังซัมจั๋ง คือเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 942 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 957 และพระถังซัมจั๋งซึ่งเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 1172 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 1188 ทั้ง 2 รูปได้บันทึกไว้ว่าสถูปนี้คือสถูปองคุลีมาลครับ
รวมถึง Sir Alexander Cunningham ชาวอังกฤษผู้สำรวจโบราณสถานของอินเดียสมัยเป็นอาณานิคมอังกฤษ ก็ยึดถือความเห็นนี้เช่นกันครับ
![]() |
สถูปองคุลีมาล มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ในขณะที่นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่า Pakki Kuti คือซากของ Hall of Law ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างครับ
![]() |
สถูปองคุลีมาล มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
จากสภาพที่ปรากฏ สถูปนี้เป็นสถูปที่มีระเบียง สร้างบนพื้นที่สี่เหลี่ยม มีการปรับปรุงและต่อเติมหลายรอบในหลายยุค ซึ่งโครงสร้างแรกสุดน่าจะถูกสร้างในสมัยกุษาณะครับ
ในขั้นตอนขุดค้นได้ทำระบบเสริมแรงโครงสร้าง และระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงสร้างเอาไว้ด้วยครับ
![]() |
รายละเอียดสถูปองคุลีมาล มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
จุดที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
จุดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์จะอยู่ระหว่างวัดเชตวันมหาวิหาร กับสถานีรถไฟบาลรามปูร์นะครับ อยู่ใกล้ๆ วัดไทยเชตวันมหาวิหารครับ
![]() |
จุดที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
บนยอดเนินจะมีซากโบราณสถานอยู่นะครับ
![]() |
จุดที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
![]() |
แดนมหามงคลชัย สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
แดนมหามงคลชัย เมืองแก้วสาวัตถี ของอุบาสิกาบงกช สิทธิพล อยู่ใกล้กับวัดเชตวันมหาวิหารนะครับ
![]() |
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ แดนมหามงคลชัย สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ของแดนมหามงคลชัย มองจากวัดเชตวันมหาวิหารครับ
![]() |
พระประธาน แดนมหามงคลชัย สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
พระประธานภายในอาคาร ซึ่งเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ครับ
![]() |
Padma (Pema) Samye Jetavan วัดทิเบตเชตวัน สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ชมพุทธศิลป์ทิเบตในวัดใกล้ๆ วัดเชตวันมหาวิหารนะครับ
![]() |
พระประธาน Padma (Pema) Samye Jetavan วัดทิเบตเชตวัน สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย |
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น