Google Analytics 4

×

เที่ยวอินเดียด้วยตัวเอง :


คุยกันก่อนนะครับ


แนะนำแผนการท่องเที่ยวอินเดีย


ควรรู้ก่อนเดินทางไปเที่ยวอินเดีย


เตรียมตัวก่อนเดินทางไปเที่ยวอินเดีย


การเดินทางในอินเดีย


พาเที่ยวอินเดีย


ก่อนเดินทางกลับจากเที่ยวอินเดีย


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม










India India ข้อมูลเที่ยวอินเดียเนปาลด้วยตัวเอง และชมรูปภาพ วีดีโอคลิป อินเดีย เนปาล พร้อมข้อมูลประกอบ


19/7/59
เที่ยวอินเดียออนไลน์ : สาวัตถี ชุดที่ 2

เช่นเดียวกับในชุดที่ 1 นะครับ คือข้อมูลในที่นี้จะอ้างอิงป้ายของทางการอินเดีย ที่ได้ทำการสำรวจและติดประกาศเอาไว้บริเวณโบราณสถานเป็นหลักครับ

ป้ายเหล่านั้นบอกเอาไว้ว่า ซากโบราณสถานไม่ใช่ของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่เป็นของที่สร้างภายหลังครับ

ซึ่งอาจจะแตกต่างจากข้อมูลแหล่งอื่นๆ ที่เผยแพร่ในประเทศไทย ที่มักบอกว่าเป็นของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาลนะครับ

ผู้อ่านจะเชื่อข้อมูลจากแหล่งไหน ก็อยู่ที่วิจารณญาณของท่านนะครับ ผู้เขียนเพียงนำเสนอข้อมูลอีกด้านให้ท่านใช้พิจารณาครับ

สถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

มาดูทางด้านมาเหตบ้างนะครับ จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี (Kachchi Kuti) ที่เรียกว่า Kachchi Kuti เพราะเคยมีนักบวชฮินดูไปสร้างวิหารอิฐชั่วคราวเอาไว้ที่ด้านบนครับ คือ kachcha หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ชั่วคราว ไม่คงทนถาวร

สถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

ซากสถูปที่ยังเหลืออยู่ประกอบด้วยโครงสร้างจากหลายยุค ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 2 ถึง 12 ครับ โดยปรากฏให้เห็นสถูปของพุทธในสมัยกุษาณะอยู่ชั้นล่าง และมีวิหารสมัยคุปตะซ้อนทับอยู่ชั้นบน

รายละเอียดสถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐี
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

สถูปองคุลีมาล
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

สถูปนี้อยู่ข้างๆ สถูปอนาถบิณฑิกเศรษฐีนะครับ เรียกว่า Pakki Kuti หรือ Angulimal Stupa มีความเห็นต่างกันเป็น 2 ทางสำหรับสถูปนี้ครับ

สถูปองคุลีมาล
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

หลวงจีนฟาเหียน (Fa-Hien หรือ Faxian หรือ Fa-hsien) ภิกษุชาวจีนที่มาเยือนอินเดียก่อนพระถังซัมจั๋ง คือเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 942 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 957 และพระถังซัมจั๋งซึ่งเดินทางออกจากประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 1172 และกลับถึงประเทศจีนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 1188 ทั้ง 2 รูปได้บันทึกไว้ว่าสถูปนี้คือสถูปองคุลีมาลครับ

รวมถึง Sir Alexander Cunningham ชาวอังกฤษผู้สำรวจโบราณสถานของอินเดียสมัยเป็นอาณานิคมอังกฤษ ก็ยึดถือความเห็นนี้เช่นกันครับ

สถูปองคุลีมาล
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

ในขณะที่นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่า Pakki Kuti คือซากของ Hall of Law ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างครับ

สถูปองคุลีมาล
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

จากสภาพที่ปรากฏ สถูปนี้เป็นสถูปที่มีระเบียง สร้างบนพื้นที่สี่เหลี่ยม มีการปรับปรุงและต่อเติมหลายรอบในหลายยุค ซึ่งโครงสร้างแรกสุดน่าจะถูกสร้างในสมัยกุษาณะครับ

ในขั้นตอนขุดค้นได้ทำระบบเสริมแรงโครงสร้าง และระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงสร้างเอาไว้ด้วยครับ

รายละเอียดสถูปองคุลีมาล
มาเหต สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

จุดที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

จุดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์จะอยู่ระหว่างวัดเชตวันมหาวิหาร กับสถานีรถไฟบาลรามปูร์นะครับ อยู่ใกล้ๆ วัดไทยเชตวันมหาวิหารครับ

จุดที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

บนยอดเนินจะมีซากโบราณสถานอยู่นะครับ

จุดที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

แดนมหามงคลชัย
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

แดนมหามงคลชัย เมืองแก้วสาวัตถี ของอุบาสิกาบงกช สิทธิพล อยู่ใกล้กับวัดเชตวันมหาวิหารนะครับ

พระพุทธรูปองค์ใหญ่
แดนมหามงคลชัย
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ของแดนมหามงคลชัย มองจากวัดเชตวันมหาวิหารครับ

พระประธาน
แดนมหามงคลชัย
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

พระประธานภายในอาคาร ซึ่งเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ครับ

Padma (Pema) Samye Jetavan
วัดทิเบตเชตวัน
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย

ชมพุทธศิลป์ทิเบตในวัดใกล้ๆ วัดเชตวันมหาวิหารนะครับ

พระประธาน
Padma (Pema) Samye Jetavan
วัดทิเบตเชตวัน
สาวัตถี อุตตรประเทศ อินเดีย


ไปหน้าสารบัญ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น