สถานที่ที่น่าสนใจในประเทศอินเดีย และเนปาลนั้นมีเป็นจำนวนมากนะครับ แต่ที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
สังเวชนียสถาน 4 ตำบล
(ในแผนที่แสดงเป็นรูปดาวนะครับ) คือ- สถานที่ประสูติ คือสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติจากพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา ใต้ต้นสาละในสวนลุมพินีวัน ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (80 ปีก่อนพุทธศักราช) ซึ่งปัจจุบันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าลุมพินี (Lumbini) หรือรุมมินเด (Rummindei) อยู่ในประเทศเนปาลครับ ในระหว่างทางที่พระนางสิริมหามายาเสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ โดยตั้งพระทัยว่าจะเสด็จกลับไปประสูติพระกุมารที่กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
- สถานที่ตรัสรู้ คือสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 ปี ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ปัจจุบันเรียกสถานที่นี้ว่าพุทธคยา (Bodhgaya) อยู่ในเมืองคยา (Gaya) รัฐพิหาร (Bihar) ประเทศอินเดียครับ
- สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (การหมุนกงล้อแห่งธรรม) โปรดปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี เมื่อทรงแสดงธรรมจบท่านโกญฑัญญะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ทำให้มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ในวันนั้น ปัจจุบันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า สารนาถ (Sarnath) อยู่ในเมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียครับ
- สถานที่ปรินิพพาน คือที่ใต้ต้นสาละ หรือต้นรังคู่ ในสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา (กุสินคร) แคว้นมัลละ เมื่อพระชนมายุ 80 ปี ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หลังทรงเทศนาสั่งสอนมาเป็นเวลา 45 ปี ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสินารา (Kushinagar) รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ประเทศอินเดียครับ
![]() |
จุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ |
![]() |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ รุ่นที่ 4 |
![]() |
ธรรมเมกขสถูป |
![]() |
มหาปรินิพพานเจดีย์ |
สถานที่สำคัญอื่นๆ
(ในแผนที่แสดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมนะครับ) ได้แก่
- กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของแคว้นที่ใหญ่ที่สุดของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล มีเหตุการณ์และสถานที่สำคัญหลายที่ เช่น พระมูลคันธกุฎี ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ สวนเวฬุวันวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ซึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญที่ทำให้กรุงราชคฤห์โดดเด่นกว่าเมืองอื่นๆ ก็คือ สถานที่สำคัญในกรุงราชคฤห์นั้น ส่วนใหญ่เป็นของจริงที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเลยครับ เช่น พระมูลคันธกุฎี คือซากกุฏิของพระพุทธเจ้าที่ยอดเขาคิชฌกูฏนั้น ก็น่าเชื่อว่าเป็นของดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรืออย่างถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถ้ำพระโมคคัลลานะ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ก็ล้วนเป็นของแท้ดั้งเดิมเช่นกันครับพระมูลคันธกุฎี และถ้ำต่างๆ
บนเขาคิชฌกูฏ - เมืองนาลันทา ห่างจากเมืองราชคฤห์แค่ประมาณ 12 กม. เป็นบ้านเกิดของพระอัครสาวกทั้งสอง คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนาลันทา หรือนาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะถูกกองทัพมุสลิมเติร์กบุกเข้ามาสังหารพระภิกษุจนแทบหมดสิ้น แล้วเผาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทาจนย่อยยับ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1742 ครับ
ส่วนหนึ่งของ
มหาวิทยาลัยนาลันทา
พระถังซัมจั๋งก็เคยมาศึกษาและอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้หลายปีนะครับ โดยเป็นนักศึกษาอยู่ 5 ปี และเป็นอาจารย์อีก 1 ปี ในสมัยที่มหาวิทยาลัยนาลันทากำลังเจริญรุ่งเรือง เห็นว่าท่านมีชื่อเสียงมากด้วยครับ และเมื่อท่านกลับเมืองจีนไปไม่นาน พวกมุสลิมก็บุกเข้ามา
- กรุงสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล เป็นอีก 1 ใน 2 ของแคว้นที่ใหญ่ที่สุดของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 25 พรรษาเลยครับ จึงมีเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติเกิดขึ้นที่เมืองนี้มากมาย เป็นที่ตั้งของวัดที่สำคัญ 2 วัดคือ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งถวายโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษาครับ
บริเวณภายในเชตวันมหาวิหาร
สาวัตถี - เมืองพาราณสี ถึงแม้บริเวณตัวเมืองพาราณสีจะไม่มีสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา (นอกจากสารนาถซึ่งอยู่นอกเมือง) แต่เมืองนี้ก็เป็นเมืองที่น่าสนใจเมืองหนึ่งนะครับ เพราะเป็นเมืองโบราณที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีโบราณของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์เอาไว้อย่างเหนียวแน่นครับ ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และคำสอนเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ครอบงำความคิด การกระทำ และวิถีชีวิตของคนในชมพูทวีปอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะประสูติขึ้นมา
หลังเสร็จพิธีอารตี (บูชาไฟ)
ริมแม่น้ำคงคา
ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทเพื่อให้เห็นเหตุปัจจัยของการเกิดการดับ และการพ้นจากการเกิดและการดับนั้น เพื่อให้พ้นจากทิฏฐิทั้งสอง คือ สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ดังที่ทรงกล่าวว่า บางพวกก็ไปไม่ถึง บางพวกก็เลยไป คือไม่เข้าใจตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งปวงนั้นเมื่อมีเหตุให้เกิดก็เกิด เมื่อหมดเหตุให้เกิดก็ไม่เกิด คือเมื่อยังมีตัณหาอยู่ตราบใด ก็ยังเกิดอยู่ตราบนั้น เมื่อตัณหาสิ้นไป ก็พ้นจากการเกิด เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นอัตตาตัวตน หรือสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น